เทคโนโลยี
1. คำว่า Comment แปลว่าอะไร
ตอบ การแสดงความคิดเห็น
2.การคอมเมนต์ คืออะไร
ตอบ การวิจารณ์เกิดจากความสมัครใจของตัวผู้วิจารณ์ หรือในเว็บไซต์เรียกว่า ผู้โพสต์ เเม้ว่าการคอมเมนต์อาจเป็นทางหนึ่งซึ่งคนอ่านใช้พูดคุยต่อกับนักเขียนก็ตามแต่
3.ข้อดีและข้อเสียของการคอมเมนต์
ตอบ ข้อดี คือ ทำให้ผุ้กระทำได้ปรับปรุง
ข้อเสีย คือ ถ้าผู้แสดงความคิดเห็นไม่มีความรู้พอ
วันจันทร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2557
วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
การแต่งเพลง
เทคนิคการเขียนเนื้อเพลง ผมจะพูดเกี่ยวกับภาษาไทยเสียเป็นส่วนมากนะครับ ในเรื่องของเมโลดี้หรือ DEMO เป็นเรื่องในส่วนของคนที่มีความรู้ด้านดนตรี ซึ่งก็จะเป็นคนละเรื่องกับส่วนนี้ อาชีพของนักแต่งเพลง แบ่งออกเป็นหลายตำแหน่งครับ แต่การแต่งเพลงแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือส่วนของ
เขียนทำนอง(DEMO & Melody) เขียนเนื้อร้อง หรือเรียกว่า คนเขียนคำร้อง เรียบเรียงซึ่งในค่ายเพลงต่างๆในบ้านเรา ก็จะจ่ายเงิน ในการแต่งเพลง แบ่งออกเป็น 3 ส่วนนั้นตามเรตราคา ต่างๆกันตามแต่ละบริษัทเพลงบางเพลงไม่จำเป็นต้องมีเนื้อร้องก็ได้ความไพเราะที่สมบูรณ์ แต่เพลงบางเพลงจำเป็นต้องมีเนื้อร้อง ถึงจะได้ความไพเราะ และสมบูรณ์
ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ขึ้นอยู่กับ รสนิยมและการดีไซน์อย่างที่เคยว่าไว้ เพลงที่ดีบางที่ก็ว่า ต้องเมโลดี้ดี ทำนองเพราะ บางที่ก็ว่า เนื้อร้องต้องกินใจ โดนใจ แต่บางที่ก็ให้ความสำคัญกับเสียงดนตรี ซาวน์ต้องแน่น ต้องสร้างอารมณ์และโชว์เทคนิค หรือความเก่งกาจทางดนตรีได้ มันก็ไม่มีอะไรถูกผิดตายตัว ขึ้นอยู่กับว่าเรามีรสนิยมทางไหน
ในการทำ DEMO หรือเรียบเรียง จำเป็นต้องมีความรู้ด้านดนตรี แต่การเขียนคำร้อง ไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ แต่ถึงอย่างนั้น การมีความรู้ด้านดนตรีก็ถือเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์ครับ การเขียนคำร้อง จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีความรู้ทางด้านภาษา ไม่ต้องถึงขนาดจบปริญญาทางด้านภาษาศาสตร์ แต่ต้องเข้าใจเรื่องพื้นฐานทางภาษา มีภาษาส่วนตัว รู้จักใช้คำ ลูกเล่นทางภาษา ใช้รูปประโยคการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจได้ เทคนิคต่างๆ อาจจะเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการแต่งเพลง ในชีวิตจริงอาจจะมีมากกว่านี้ ก็ขึ้นอยู่กับเทคนิคเฉพาะตนของแต่ละคน แต่เรื่องพื้นฐานต่อไปนี้ก็ช่วยให้เราเขียนเพลงได้ง่ายขึ้นพอสมควรเลยล่ะครับ
1. ควรเขียนให้มีสัมผัส จริงๆแล้วในปัจจุบัน เพลงที่คำนึงถึงสัมผัสมีน้อยลงมากครับ เดี๋ยวนี้ มีแต่เพลงที่แต่งตามใจฉันไม่สนใจสัมผัส ทั้งที่การมีสัมผัส ช่วยให้เพลงจำง่าย ฟังลื่นไหลเป็นธรรมชาติ อันนี้ผมเดาว่า เป็นเพราะรูปแบบของคนสมัยนี้เปลี่ยนไปคนที่เข้าใจในเรื่องสัมผัสมีน้อยลง จึงไม่คิดว่ามันเป็นเรื่องสำคัญและไม่ให้ความสนใจ ซึ่งมันก็ไม่ใช่เรื่องผิดครับ ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เพลงที่เพราะหลายๆเพลง ก็ไม่มีสัมผัสเช่นกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ความจริงในเรื่องของคำสัมผัส ช่วยให้จำง่ายและฟังลื่นไหล ก็ยังคงเป็นความจริงอยู่ดี และผมคิดว่า นี่ก็เป็นเทคนิคอย่างหนึ่ง ที่ทำให้เพลง ฟังดูเป็นธรรมชาติอีกด้วย
เช่น
Ex 1 ไม่คิดสักครั้งว่ารักที่เราเคยทุ่มเทใจ แต่ว่ามัน...ก็จบ จุดหมายที่หวังวาดไว้มันกลายเป็นสิ่งเลือนลาง เมื่อเธอลืมกันลง
Ex 2 ไม่คิดสักครั้งว่ารักที่เราเคยทุ่มเทใจ จบกันไป...ทุกอย่าง จุดหมายที่หวังวาดไว้มันกลายเป็นสิ่งเลือนลาง เมื่อเธอลากันไป
จากตัวอย่างเราจะเห็นความ ความลื่นไหล แหละจำง่ายของตัวอย่างที่สอง มีมากกว่าตัวอย่างแรก เพราะฉะนั้นแล้ว กลวิธีนี้ก็เป็นทางเลือกหนึ่ง ที่สามารถจะเพิ่มเสน่ห์ให้กับเนื้อเพลงของเราได้วิธีหนึ่งด้วย
Ex 1 ไม่คิดสักครั้งว่ารักที่เราเคยทุ่มเทใจ แต่ว่ามัน...ก็จบ จุดหมายที่หวังวาดไว้มันกลายเป็นสิ่งเลือนลาง เมื่อเธอลืมกันลง
Ex 2 ไม่คิดสักครั้งว่ารักที่เราเคยทุ่มเทใจ จบกันไป...ทุกอย่าง จุดหมายที่หวังวาดไว้มันกลายเป็นสิ่งเลือนลาง เมื่อเธอลากันไป
จากตัวอย่างเราจะเห็นความ ความลื่นไหล แหละจำง่ายของตัวอย่างที่สอง มีมากกว่าตัวอย่างแรก เพราะฉะนั้นแล้ว กลวิธีนี้ก็เป็นทางเลือกหนึ่ง ที่สามารถจะเพิ่มเสน่ห์ให้กับเนื้อเพลงของเราได้วิธีหนึ่งด้วย
2. ย้ายจุดสัมผัสให้เป็น เช่น “ฉันโง่ใช่ไหม ที่งมงายยอมทนอย่างนี้เป็นคนดีที่เธอไม่แคร์ ตามใจเธอ ไม่เห็นเธอดูแล มีแต่ทำให้ช้ำใจ อยู่ได้ทุกวัน ฉันโง่ใช่ไหม ที่ยังคงงมงายอย่างนี้ยอมเป็นคนที่เธอไม่แคร์" เลื่อนสัมผัสก็เป็นอีกวิธีนึงครับ ที่เราจะสร้างสรรค์ประโยค อย่างที่เราอยากได้ยินได้
3. เลือกใช้สระง่ายๆ เลือกใช้สระไอ สระอา สระอี สระอำ หรือลากเสียงให้ยาวขึ้นเช่น สระไอ เป็น สระอาย / อำ เป็น อาม / อัน เป้น อาน เหล่านี้ไม่ใช่กฎข้อบังคับนะครับ แต่เป็นเทคนิคในการเพิ่มตัวเลือกของคำสัมผัสให้มากขึ้น ทำให้เรามีคำให้เลือกใช้มากขึ้นครับ
4. อย่าใช้คำซ้ำเยอะ ภาษาไทยเรามีข้อดีอย่างหนึ่งครับ คือมีหลายคำที่ให้ความหมายเดียวกัน เราสามารถเลือกและหาคำเหล่านั้นมาใช้แทนกันได้ เราไม่ควรจะใช้คำซ้ำเยอะครับ เพราะจะทำให้เรื่องดูน่าเบื่อ อย่างเช่นคำว่าพระจันทร์ ก็ยังมีคำว่า เดือน อีก พระอาทิตย์ ก็มี ตะวัน ฯลฯ เราสามารถเติมคำเข้าไปในคลังคำในสมองของเราก็ด้วยการอ่านหนังสือเยอะๆครับ อ่านเยอะๆ ฟังเยอะๆ เราก็จะมีคำสะสมเยอะ ช่วยให้เพลงของเรา ดูดีขึ้นอีกจมเลย
5. เขียนถูกโน๊ต (ครบโน๊ต ไม่เพี๊ยน ไม่เหน่อ ถูกคำสั้น-ยาว) เราต้องเขียนให้ถูกโน๊ต ครบ โน๊ต ไม่เพี๊ยน ไม่เหน่อครับ เราควรจะให้ความเคารพเมโลดี้ ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ เราไม่ควรจะแก้เมโลดี้ครับ ยกเว้นในบางกรณี เราสามารถเสนอความคิดเห็นเราได้ ว่าอยากให้เพิ่มหรือ ลดตรงไหน แต่ไม่ใช่ว่าเราตั้งหน้าตั้งตาจะแก้เมโลดี้เขาอย่างเดียวนะครับ มันไม่ใช่มารยาท เขียนให้ครบโน๊ตก็คือ ในแต่ละท่อนมีกี่โน๊ต หรือมีเสียงอยู่กีครั้ง เราก็ควรจะเขียนให้ได้ตามนั้น เช่นในประโยคหนึ่งมี เมโลดี้อยู่ 7 ตัว เราก็ควรจะเขียนให้ได้เสียงในภาษา 7 เสียง หรือที่เรียกว่า 7 พยางค์ก็ได้ เช่น
เมื่อมั่งมีมิตรมุ่งหมายมอง ( 7 คำ)
เมื่อสหายอยากกินบะหมี่ ( 6 คำ แต่ 7 พยางค์)
อยากสบายก็ไปสปา ( 5 คำ แต่ 7 พยางค์)
ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องให้เสียงมันตรงกับเมโลดี้ด้วยนะครับ ถึงจะใช้ได้ และที่สำคัญ เราก็ควรจะเขียนให้ร้องได้ สื่อสารได้เข้าใจ ไม่เพี๊ยนโน๊ต จนความหมายเปลี่ยนหรือ ประโยคฟังแล้วขำไปเลย อย่างที่เคยได้กล่าวไว้ในหัวข้อ
“วิธีการเขียนเพลง”
อีกเรื่องหนึ่งที่เราต้องระวังก็คือ คำสั้น – ยาว เราต้องฟังเสียงโน๊ต โน๊ตบางตัวสั้น บางตัวยาว เราต้องเขียนให้ถูกตามนั้น
จะช่วยให้เพลงฟังดู สบายหู และลื่นขึ้นเป็นกองเลย อย่างคำว่า
อีกเรื่องหนึ่งที่เราต้องระวังก็คือ คำสั้น – ยาว เราต้องฟังเสียงโน๊ต โน๊ตบางตัวสั้น บางตัวยาว เราต้องเขียนให้ถูกตามนั้น
จะช่วยให้เพลงฟังดู สบายหู และลื่นขึ้นเป็นกองเลย อย่างคำว่า
สบาย (สั้น-ยาว)
ข้าวเปล่า (ยาว-ยาว)
สปา (สั้น – ยาว)
กระตุก (สั้น – สั้น)
ประจุไฟฟ้า (สั้น – สั้น – ยาว – ยาว)
อย่างถ้า เสียงเมโลดี้มัน สั้น – ยาว เราไปใส่คำว่า “ปวดท้อง” ซึ่งเป็นเสียง ยาว - ยาว ก็ไม่ถูกครับ แถมยังทำให้ร้องยากขึ้นด้วย เช่น จากเสียงที่ได้ยิน เราอาจจะร้อยประโยคใส่ได้ว่า
โอ๊ย...อยากกินติ่มซำกับเขาบ่อยบ่อย
แต่ถ้าเรา ใส่ประโยคว่า
แต่ถ้าเรา ใส่ประโยคว่า
“คุก....อยากชวนให้มาติดคุกสักหน่อย” เสียงก็จะไม่ถูก แค่คำว่า “คุก” คำแรก ก็ออกเสียงลำบากแล้ว เพราะเมโลดี้มันลากเสียงยาว ถ้าเรายังไม่คล่องหรือยังไม่ค่อยเข้าใจเสียง สั้น –ยาว เอาง่ายๆว่า ถ้าปากเปิด เราสามารถลากเสียงได้ยาว แต่ถ้ามันเป็นคำที่ปากปิด หรือลิ้นมันดันเพดานทำให้ช่องปากปิด เราจะไม่สามารถลากเสียงได้ ใช้เกณฑ์นี้ อาจจะไม่ถูกหลักภาษาไทยนักแต่มันเป็นการช่วยให้เรารู้ว่า เราจะเลือกใช้คำไหน แล้วร้องสบายปาก ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่ใช่กฎตายตัวอย่างที่บอก ถ้าคำมันเจ๋งจริงๆ ได้ความหมายมากๆ เราสามารถยอมได้ แล้วใช้การร้องช่วยเข้ามาแก้ปัญหา แต่ยังไง ถ้าเป็นไปได้ เราก็น่าจะทำอย่างต้นแบบให้ได้ก่อน นี่ก็เป็นเทคนิคหนึ่งที่เราอาจจะคำนึงถึงในการแต่งเพลงครับ
6. คิดคำจากเมโลดี้เด่นๆ เราฟังเมโลดี้ในเพลง เสียงไหนที่มันสะดุดหูเรา เราชอบและเกิดไอเดีย เราสามารถเอาตรงนั้นมาขยายเป็นเพลงได้ครับ นี่ก็เป็นอีกเทคนิคหนึ่ง ที่ช่วยให้เราแต่งเพลงง่ายขึ้น
7. คิดท่อน Hook ก่อน อันนี้เป็นวิธีที่ได้ผลค่อนข้างดีกับตัวผมเลยครับ เป็นวิธีของครูผมที่แนะนำมา เราฟัง Hook ก่อนเลย จำมันให้ขึ้นใจ ฟังเสียงหัว Hook แล้ว List คำออกมาดูว่า คำใดที่น่าสนใจ และเรื่องราวที่เราจะมาสร้างต่อมันแข็งแรง ให้เลือกออกมาสร้างเป็นเรื่องและเขียนเป็นเพลง
8. ล้อคำ ล้อโน๊ต การล้อคำ ล้อโน๊ต จะทำให้เพลง สละสลวยจำง่ายขึ้น ยกตัวอย่างเช่น เพลง “นินจา” ของคริสติน่า ตรงท่อน “เดี๋ยวผลุบ เดี่ยวโผล่ ไม่โผล่ ก็ผลุบ ไม่ผลุบ ก็โผล่” โน๊ตค่อนข้างชัดเจน ก็ใช้คำล้อโน๊ตตามไปเลย ทำให้เพลง สละสลวย จำง่ายขึ้นด้วย
นินจา
คริสติน่า อากิล่า
คริสติน่า อากิล่า
แปลกจริงๆเลย ก็อยู่ไปดีดี เดี๋ยวเธอก็มา ไม่ทันจะเตรียมตัว ทำเหมือนนินจา
เมื่อมาลีลาไม่เหมือนใคร แปลกจริงๆเลย
ก็อยู่กันดีดี แล้วเธอก็ไป ประหลาดไปวันวัน จะรักกันยังไง ต้องการอะไรก็ว่ามา
มาทำเป็นเดี๋ยวผลุบ เดี๋ยวโผล่ ประเดี๋ยวโผล่ประเดี๋ยวก็ผลุบ ไม่ผลุบก็โผล่ ........
9. เล่นคำ เป็นการเล่นเสียงตัวอักษรหรือคำที่เหมือนกัน เช่นในเพลง “ลานเทสะเทือน” จะเล่นตัวอักษร ท กับ ถ อย่างในประโยคที่ว่า “เสียงลมพัดตึง เคล้าคลึงยอดตอง คิดถึงเนื้อทอง สาวลั่นทม เจ้าจากลานเท.....”
“ลานเท”
A1 เสียงลมพัดตึง เคล้าคลึงยอดตอง คิดถึงเนื้อทอง สาวลั่นทมเจ้าจากลานเท
A1 เสียงลมพัดตึง เคล้าคลึงยอดตอง คิดถึงเนื้อทอง สาวลั่นทมเจ้าจากลานเท
ผมนั่งรถท่อง พอทั่วกรุงเทพฯ ก็ดีถมเถ เพราะว่ากรุงเทพฯ ลานเท
นั่งเรือด่วนเที่ยวเดี๋ยวเดียวก็ถึง
A2 เขียวเอยขาวเอย แล่นเลยทุกลำ มิมีโฉมงาม สาวแก้มนวลที่สุดคะนึง
พ่อแม่ร้องไห้ ทมไม่คืนทุ่งป้าลุงถามถึง หรือเพื่อนกรุงเทพฯ คอยดึง
ผู้คนคงทึ่งสาวทุ่งลานเท
Hook จากวันเป็นเดือน จากเดือนเคลื่อนไปเป็นปี
ลั่นทมไม่มาสักที พวกพ้องน้องพี่ทุกคนสนเท่ห์
รถเก๋งเพลงหวาน ตึกรามโอฬารสวรรค์ทั้งเพ
สาธุเจ้าแม่ลานเท อย่าให้ลั่นทมอุ้มท้องคืนทุ่ง
A3 เสียงเรือขรมคลืน ทุกคืนพี่ตรม คิดถึงลั่นทม โฉมบังอรโอ้หล่อนเพลินกรุง
เราทุ่มรักเก้อ เราเซ่อยอมซ่มลั่นทมเขาสูง ถึงกล้าไปเทียบคนกรุง
พี่นอนสะดุ้งเหมือนทุ่งสะเทือน
เราไม่จำเป็นต้องใช้ทั้งเพลงอย่างตัวอย่างก็ได้ครับ เลือกใช้บางจุดก็ได้
10. ใช้คำขัดแย้งกันมาเล่าเรื่อง เช่นเพลงนี้ครับ
"นิยายเมืองหลวง"
ศิลปินเสาวลักษณ์ ลีละบุตร
อัลบั้มCITY WOMAN
คำร้อง สุรักษ์ สุขเสวี
ทำนองเรียบเรียง ชนชิต จรรย์สืบศรี
A1 ออกไปเดินปะปนพร้อมผู้คนมากมาย เธอคือสาวชาวเมือง
ที่ยังต้องดิ้นรน แต่งตัวสวยเสื้อผ้าสะอาดทั้งที่ใจหมองหม่น
แต่ไม่เคยมีใครสักคนจำชื่อเธอ
A2 เมื่อตะวันโรยแรงแสงจะลับขอบฟ้า ก็จะเห็นเธอมาอย่างคนไม่มีที่ไป
กลับมาบ้านที่ไม่มีคน ห้องที่ไม่มีใคร แต่ก็คงจะเป็นที่เดียวให้เธอได้ซุกนอน
B ในคืนวันนั้นท่ามกลางพายุฝน มีคนมองเห็นผู้ชายหลายคน
ในห้องเธอ จนในเวลาแสงไฟดับไป เขาทำอะไรเธอ
C1 ฝนซาแต่ฟ้ายังหม่น มีแค่ความมืดมัว
A3 เมื่อตะวันเรืองรอง แสงสีทองกลับมา ฉากชีวิตในเมือง
ผู้คนยังมากมาย ใครจะนับผู้หญิงคนหนึ่ง รู้ว่าเธอหายไป
เมื่อชีวิตเธอคือนิยายที่โดนผู้คนเมิน
A4 เธอไปอยู่ไหน ไม่มีใครถามถึง เป็นใครอีกคนที่โดนสังคมกลืนกินไป
ในเมืองยังมีเรื่องราววุ่นวาย ไม่มีอะไรเปลี่ยน
C2 หลายวันล่วงเลยไป ในบ้านยังเงียบงัน
หลายเดือนห้องจึงเปิดต้อนรับคนหน้าใหม่
เพลงนี้ ผมมองว่ามันไม่มี Hook ครับ เพราะเพลงนี้ ผมเดาว่าถูกออกแบบมาให้เป็นเพลงศิลปะ ไม่ใช่เพลงขาย ความสำคัญของมันจึงอยู่ที่ความสวยของเพลงทั้งเพลง เพลงนี้มีข้อดีหลายจุดแต่ในหัวข้อนี้ผมอยากให้สังเกตุการเล่าเรื่อง เทคนิคการใช้ความต่าง มาเปรียบเทียบและเล่าเรื่อง
สังเกตุดูนะครับ ออกไปเดินปะปนพร้อมผู้คนมากมาย……แต่ไม่เคยมีใครสักคนจำชื่อเธอ แต่งตัวสวยเสื้อผ้าสะอาดทั้งที่ใจหมองหม่น เห็นเธอมาอย่างคนไม่มีที่ไป ฯลฯ
11. ใช้สำนวน หรือการเปรียบเทียบ การใช้สำนวนเปรียบเทียบ ก็คือการที่เรา หาสำนวน หรือการเปรียบเทียบใส่ไว้ในประโยค ไม่ว่าจะเป็น ทั้งเรื่อง / ทั้งพล็อต ของมัน หรือจะเป็นเฉพาะบางจุด ก็ถือว่าเป็นอีกทางหนึ่ง ที่หลุดออกจากเพลงเดิมๆได้ครับ เป็นการเพิ่มเสน่ห์ให้กับเพลงอีกด้วย การเปรียบเทียบมีหลายอย่าง เช่น
เขียนด้วยมือ
ตอง ภัครมัย
ตอง ภัครมัย
A1 เธอเคยแสนดี อ่อนโยนและเข้าใจ อบอุ่นเสมอในวันที่อ่อนไหว
ดูเธออยู่นาน ตั้งแต่ใจมันยังไม่คิดอะไร แล้วก็มาเปลี่ยนใจเป็นรักเธอ
A2 จนวันที่เธอ หมดใจจะให้กัน ตั้งแต่วันนั้นเธอเปลี่ยนเป็นใจร้าย
เอ่ยคำทุกคำ ทำให้คนใจสลาย เหมือนไม่มีเยื่อใยกันเลย
Hook เธอเอามือเขียนความรักเรา แต่เอาเท้าลบมันทิ้งไป
เพียงเธอเดินมาบอกสักคำว่าหมดใจ ฉันก็ให้ไป
ไม่ต้องใช้คำแรงๆแบบนั้นเลย
A3 คนเคยรักกัน จากกันไปด้วยดี แค่เพียงเท่านี้ลำบากอะไรไหม
อยู่กันตั้งนาน วันที่ดีเก็บมันไว้ ไม่จำเป็นต้องเกลียดกันเลย
เพลงนี้ใช้สำนวนว่า “เขียนด้วยมือ ลบด้วยเท้า” (ในหลักภาษาไทย อาจแยกกันระหว่างสำนวนกับสุภาษิต แต่ผมขออนุญาติเรียกโดยรวมนะครับ ว่าหมายถึงสำนวน หรือสุภาษิตก็ได้) และสำนวนในเพลงนี้ ยังเป็น Hook ซึ่งผู้เขียนเอาสำนวนมาสร้างเป็นเรื่องราวของเพลง
ปราสาททราย
สุรสี
A1 กว่าจะรวมจิตใจ เก็บทรายสวยๆมากอง ก่อปราสาทสักหลัง
ก่อกำแพงประตู ก่อสะพานสร้างเป็นทาง ทำให้เป็นดังฝัน
B1 ก่อนที่ฉันจะได้เห็นทุกอย่าง อย่างที่ฝันที่ฉันทุ่มเท
น้ำทะเลก็สาดเข้ามา
Hook1 ไม่เหลืออะไรเลย แหลกสลายลงไปกับตา
เหลือเพียงทรายที่ว่างเปล่า กับน้ำทะเลเท่านั้น
ไม่เหลืออะไรเลย จากที่เคยมีความใฝ่ฝัน
ไร้กำลังจะสร้างใหม่ ให้เหมือนเดิม
A2 ทีละเล็กละน้อย ที่คอยสะสมความดี มีให้เธอเท่านั้น
ก่อเป็นความเข้าใจ แต่งเติมความหมายด้วยกัน คอยถึงวันที่หวัง
B2 ก่อนที่ฉันจะได้พบความสุข อย่างที่ฉันฝันไว้ทุกวัน
เธอก็พลันมาจากฉันไป
Hook2 ไม่เหลืออะไรเลย แหลกสลายลงไปกับตา
เหลือเพียงใจที่ว่างเปล่า กับฉันคนเดียวเท่านั้น
ไม่เหลืออะไรเลย จากที่เคยมีความใฝ่ฝัน
ไร้กำลังจะสร้างใหม่ให้เหมือนเดิม
Bridge จะเอาแรงพลังจากไหนไว้เติมแต่งฝัน
จะเอาวันและคืนจากไหนให้พอทำใจ ไม่เหลืออะไรเลย
เพลงนี้ใช้การเปรียบเทียบที่ดีมากครับ เป็น Mass มาก เข้าใจง่าย และเป็นความจริง เพลงนี้อาจจะไม่ใช่การใช้สำนวนหรือสุภาษิตเข้ามาเกี่ยวข้องกับเพลง แต่ว่า เพลงนี้กลับใช้การเปรียบเทียบได้อย่างลงตัวมากๆ โดยการเปรียบปราสาททราย กับความรัก ที่กำลังสร้างอยู่ แม้จะดูไปได้ด้วยดี แต่ก็กลับมีอุปสรรค์มาทำให้มันพังทลายง่ายๆ
12. หาประโยคมีน้ำหนัก หรือประโยคเด็ดๆมาไว้ในเพลงบ้าง คือเราควรจะหาคำหรือประโยคเด็ดๆ มาสอดแทรกในเพลง จะช่วยทำให้เพลงกินใจขึ้นเยอะครับ เช่นเพลง
รักครั้งสุดท้าย
นักร้อง โบ สุนิตา
A1 ฉันอาจจะไม่น่าดูฉันรู้ตัว ฉันอาจจะเผลอทำตัวเป็นแบบนี้
แต่หากเธอหันมามองเธอคงจะรู้ได้ดี ว่าตอนนี้ฉันต้องการเธอแค่ไหน
B ไม่ใช่เพียงแค่ไหล่ไว้ซบอิง แต่เธอคือที่พักพิงที่สุดท้าย
ไม่ได้หวังแค่เพียงมาเพื่อฝากหัวใจ แต่จะฝากชีวิตไว้กับเธอ
Hook โปรดอย่ามองว่าฉันเหมือนคนน่ารำคาญ อย่าโกรธเคืองที่ฉัน
วุ่นวายและอ่อนไหว แค่อาการไขว่คว้าของคนที่เหงาใจ
หวังจะฝากความรักครั้งสุดท้าย ไว้ที่เธอ
A2 ฉันอาจจะไกล้ชิดเธอ จนมากไป เธออาจจะหนีฉันไปในสักวัน
มันทำให้ฉันยิ่งกลัว กลัวเธอไม่รู้ใจกัน ว่าเธอมีค่ากับฉันมากแค่ไหน
ปั้นปึง
นักร้อง The Backup
A1 อย่าทำอย่างนั้น อย่าไปไกลๆจากฉัน ทิ้งความเคยผูกพันธ์
มันทำร้ายกันรู้ไหม จะโกรธจะแค้นปั้นปึงกันเรื่องได
ขอเธอจงเข้าใจไม่เคยรักใครจริงๆ
(จะโกรธจะแค้น ฉันนั้นมากแค่ไหน จงเข้าใจ ไม่เคยรักใครเท่าเธอ)
B หากขาดเธอคงหมดใจ ขาดเธอไปคงหมดกัน สิ่งที่ฝันที่วาดไว้อย่างสวยงาม
อยู่กันมาตั้งเท่าไร ผิดตรงไหนก็พูดกัน โปรดอย่าทำไปอย่างนั้นให้เจ็บใจ
Bridge ประโยชน์อะไร ที่ฉันต้องมีชีวิตอยู่เมื่อไม่รู้
จะมีมันอยู่เพื่อใคร ภาพความทรงจำคือเธอคนเดียวในใจ
ขาดเธอไปจะอยู่ไปก็เท่านั้น
2 เพลงนี้ ใช้ประโยคที่มีน้ำหนัก และความหมายลึกซึ้งมาวางในเพลง ทำให้ เพลงนี้ จากเรื่องธรรมดาๆ กลับกลายเป็นเพลงที่ลึกซึ้งและกินใจขึ้นมาก เทคนิคอีกอย่างหนึ่งที่จะทำให้เพลงดูน่าสนใจก็คือการเปิดหัวประโยคแรกของเพลง ถ้าเราหาคำที่มีน้ำหนัก หรือทำให้เราสะดุดได้ ไม่ว่าจะเป็นประโยคบอกเล่า หรือคำถามตรงต้นประโยค ก็จะทำให้เพลงเราเรียกร้องให้คนฟังต่อได้ดี เป็นเทคนิคอีกอย่างหนึ่ง ที่เราสามารถหามาเพิ่มให้เพลงเราดูพิเศษขึ้นได้ เช่นใน 2 เพลงที่ยกตัวอย่างไป ก็ถือว่าเปิดประโยคหัวที่มีน้ำหนักได้ดีครับ ตรงนี้แรกๆเราอาจจะยังไม่ชำนาญก็ค่อยๆฝึกๆ สังเกตุเรื่อยๆ แล้วเราก็จะพัฒนาขึ้นได้อีกเยอะเลย
13. เขียนเป็นธีม (Theme) บางครั้งบางเพลงก็ไม่มีเรื่องราวอะไรมากมาย วิธีหนึ่งที่ทำให้เพลงเราน่าสนใจ คือใช้วิธีการเขียนแบบเป็น ธีม (Theme) ก็ช่วยเพิ่มสเน่ห์ได้ครับ การเขียนแบบเป็นTheme ก็คือการที่เราเอาเรื่องนั้นๆ เป็นตัวตั้งต้นเช่นเพลง “น้องเอ๊ย” ก็ถือว่าเป็นการเขียนโดยใช้ Theme ส่วนอีกเพลงหนึ่งที่จะยกเป็นตัวอย่างคือ
เพลง “ขอบใจจริงๆ”
ธงชัย แมคอินไตย
A1 อยากขอบใจสักครั้งหนึ่ง ถึงคนที่เคยซึ้งใจ
สุดท้ายก็จากกันไป และเหลือทิ้งไว้เพียงแค่ความทรงจำ
A2 อยากขอบคุณที่สอนให้ ฝันและใฝ่จนชื่นฉ่ำ
และสอนให้เจ็บให้ช้ำ ให้จำบทเรียนที่แพงเหลือหลาย
Hook ถ้าหากครั้งนี้ ไม่มีเธอลวงหลอกไว้ ฉันนี้คงงมงาย
เห็นรักดรเกินไป ไม่มีวันจะรู้ ฉันเจ็บครั้งนี้ ฉันมีเธอเป็นดั่งครู
สอนฉันให้เข้าใจ รักร้าวเป็นเช่นไร ขอบใจจริงๆ
ฉันแพ้จนเข้าใจ รักร้าวเป็นเช่นไร ขอบใจจริงๆ
14. เขียนเป็นพล็อต (Plot) เขียนเป็นพล็อต หรือคิดเป็นพล็อต ก็คือการที่เราเขียนเรื่อง หรือสิ่งที่เราอยากจะเล่าก่อน โดยที่เราไม่คำนึงถึงความยาวหรือสิ่งใดๆเท่าไหร่ แล้วเราค่อยมาดูใจความ หรืออะไรสักอย่างที่อาจจะพบเจอ “ของดี” ในขณะที่เราเล่าไปเรื่อยๆ และเราก็หยิบหรือเอาจุดนั้นมาเป็นเพลง บางทีเราอาจจะกำหนดเหมือนเรื่องสั้น หรือหนังเรื่องหนึ่งไปเลยก็ได้ ว่าเรื่องของเรามีกี่คน
คนไหนรักคนไหน อะไรเกิดขึ้นบ้าง เรื่องเป็นอย่างไร แล้วเราค่อยตัดทอนเอา หรือสรุปเอามาใช้ พล็อตมันสำคัญตรงที่ ถ้าคุณได้พล็อตที่แข็งแรง และเคลียร์ ก็จะง่ายต่อการเขียน แต่ถ้าพล็อตไม่ชัด ก็จะไม่มีประเด็นในการเล่าเรื่อง เราต้องยอมรับว่า เพลงก็คือการสื่อสารชนิดหนึ่ง ในวงกว้าง ถ้าเรื่องมันไม่เป็น Mass คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจ ก็ถือว่าเพลงนั้นไม่ดี ไม่ประสบความสำเร็จในการสื่อสาร เพราะฉะนั้นแล้ว พล็อตก็เป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่ง ที่เราไม่ควรมองข้าม
15. อ่านอารมณ์ของเมโลดี้ เราต้องฟังเมโลดี้ แล้วอ่านอารมณ์ให้ออกครับ ว่ามันเป็นเพลงด้านไหน บวก (เพลงสนุก มีความสุข) หรือ ลบ (เพลงที่เศร้า แค้น เสียใจ) หรือกลางๆ เพลงที่ บวก หรือ ลบ จะไม่ยากเท่าไหร่ เพราะจะชัดเจนเลยว่าเพลงไปทิศทางไหน สุข หรือ เศร้า
แต่เพลงที่มักจะมีปัญหาสำหรับนักแต่งเพลงใหม่ๆก็คือเพลง กลางๆ เพราะว่า มันสามารถฟังไปทาง สุขเหงาๆ เศร้าๆเหงาๆหรือ คิดถึงแบบเหงาๆได้ แต่จริงๆแล้ว เพลงไม่กี่เพลงเท่านั้นครับ เป็นได้ทั้ง 2 ทาง เพลงส่วนมากที่ออกกลางๆ จะมีทิศทางของมันอยู่แล้ว เราต้องใช้ประสบการณ์ ตีโจทย์ให้ออกครับ ว่าเพลงมันไปทางไหน จากนั้น ก็ต้องหาเรื่องและระดับคำที่พอดีกับเพลง ตรงนี้เทคนิคที่จะอ่านอารมณ์ให้ออก ต้องอาศัยความรู้เรื่องดนตรีบ้างครับ
แต่หากไม่มีความรู้เรื่องดนตรี ก็ต้องลองหลับตาฟังแล้ววัดดวงเอา เรื่องแบบนี้มีผิดถูกได้เป็นเรื่องปรกติ ผมมองว่าต้องอาศัยประสบการณ์ถึงจะอ่านได้ขาด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราก็ต้องฟังโปรดิวเซอร์นะครับ ว่าต้องการเพลงประมาณไหน ทิศทางไหน ถือเอาการคุยกัน การประชุมกันเป็นสำคัญ เพราะเมื่อเมโลดี้ออกมาแล้ว เราคิดว่าเป็นอารมณ์หนึ่ง แต่การเรียบเรียง หรือArrange เพลง เมื่อเสร็จแล้ว อาจจะออกมาแล้วให้ความรู้สึกอีกอารมณ์นึงเลยก็ได้
16. วางแผนการเล่าเรื่อง เรื่องนี้เป็นหัวใจสำคัญเลยก็ว่าได้ครับ เนื่องจากอย่างที่เคยว่าไว้เพลงถือเป็นการสื่อสารชนิดหนึ่ง เมื่อเราสื่อสารในวงกว้าง เพลงจึงควรจะเป็นเรื่องที่ทุกคน หรือคนส่วนมากเข้าใจได้ ไม่ใช่ว่าเข้าใจอยู่เพียงคนเดียว หรือเข้าใจเพียงเฉพาะบางกลุ่ม ยกเว้นว่าเราทำเพลง หรือแต่งเพลงเพื่อฟังคนเดียว หรือเฉพาะกลุ่มนั้นๆ แต่ถ้าหากเราต้องการสื่อสารให้คนส่วนมากเข้าใจ การวางแผนการเล่าเรื่องเป็นสิ่งสำคัญ
สำหรับเรียบเรียงความคิดออกมาให้ง่ายที่จะเข้าใจได้ สมมิตว่า ผมมีพล็อตหนึ่งว่า
“น้องเอ๊ย ทำอะไรก็ได้นะน้อง แต่อย่าแต่งตัวโป๊ วับๆแวมๆเลย รู้ไหมยิ่งโตยิ่งเป็นสาวยิ่งอันตราย พี่รู้นะว่า อยากอวดผิวเนียนนุ่ม อยากดูอินเตอร์ฯ อยากทันสมัย แต่มันอันตรายนะน้อง ยิ่งไม่ระวังตัวด้วยแล้ว พี่ใจจะสลาย เห็นแล้วเสียวแทนจริงๆ”
จากนั้น เราก็มาดูเมโลดี้ครับ ว่ามีกี่ท่อนแล้วเราก็วางแผนลงไป ว่า จะพูดอะไรตรงไหนบ้างวางแผนทีละท่อน ทุกท่อนไว้ในกระดาษเลยนะครับ เวลาเราลงมือเขียนจริง ก็เอาตรงนั้นมาเป็นแบบ รับรองว่าเพลงฟังรู้เรื่อง เรื่องไม่แตกประเด็น เรื่องไม่หลงทิศทาง แถมเรายังวางแผนการใช้เทคนิคอื่นๆเพื่อให้เห็นองค์รวมของเพลงได้อีกด้วย รับรองว่าเทคนิคนี้มีประโยชน์อย่างยิ่งเลยครับ ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ได้แปลว่า เพลงๆหนึ่งของคุณต้องมีเทคนิคทุกอย่างแพรวพราวในเพลงนะครับ เทคนิคมีไว้ให้เราเลือกใช้ตามความถนัดและความเหมาะสม เพลงๆหนึ่งอาจจะไม่มีเทคนิคอะไรเลย หรืออาจจะ มีได้หลายเทคนิค สิ่งสำคัฐคือ มันต้องพอดีและลงตัว ซึ่งเรื่องนี้เมื่อแต่งเพลงเสร็จ เราเองก็จะเห็นเองว่า มันมากเกินไปหรือน้อยเกินไป คงต้องลงมือทำกันดูก่อนเท่านั้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)